Data Warehouse หรือคลังข้อมูลคืออะไร? จำเป็นต่อธุรกิจหรือไม

Data Warehouse คืออะไร? ไม่อยากตก เทรนด์ Data ต้องรู้เอาไว้

Data Warehouse คืออะไร

3 พฤษภาคม, 2024

ในโลกของการตลาดดิจิทัลที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ข้อมูล หรือ Data กลายเป็นสิ่งสำคัญต่อแบรนด์ทุกแบรนด์ ซึ่งช่วยเปลี่ยนวิธีที่แบรนด์หากลยุทธ์ทางการตลาดได้มากขึ้น ลองนึกถึงเครื่องมือที่ไม่เพียงแต่เก็บข้อมูลการตลาดดิจิทัลของคุณทั้งหมด แต่ยังจัดเรียงข้อมูลเหล่านั้นให้เป็นระเบียบ ซึ่งจะช่วยแนะนำการตัดสินใจทางกลยุทธ์ของคุณ อุปกรณ์นี้คือ “Data Warehouse” ในบทความนี้ เราจะพาไปคุณทำเข้าความใจ Data Warehouse  พร้อมด้วยตัวอย่างที่ใช้ได้จริงประโยชน์ และข้อมูลที่ทำให้คุณสามารถนำไปใช้จริงและน่าสนใจ เพื่อใช้ประโยชน์จาก Data Warehouse ในแคมเปญของตนได้ดีขึ้น

สารบัญบทความ hide

Data Warehouse คืออะไร?

ลองนึกถึงร้านค้าใหญ่อย่าง Walmart ที่วิเคราะห์ข้อมูลการขายจากร้านค้าหลายร้อยแห่ง Data Warehouse คือ ตัวช่วยให้พวกเขาสามารถรวบรวมข้อมูล เพื่อติดตาม คาดการณ์ และปรับโปรโมชั่นให้เหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เหมือนกับฐานข้อมูลธุรกิจมาตรฐานที่สร้างขึ้นสำหรับธุรกรรมประจำวัน Data Warehouse ถูกออกแบบมาเพื่อจัดระเบียบและวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้มีสามารถจัดการกับข้อมูลและธุรกรรมจำนวนมหาศาลได้

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา Data Warehouse (DWH) ได้พัฒนาจากระบบจัดเก็บข้อมูลแบบง่ายๆ เป็นกรอบการวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อน สามารถประมวลผล Big Data และการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ การพัฒนานี้ได้รับแรงผลักดันจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการตีความข้อมูลที่ซับซ้อนและเครื่องมือตัดสินใจในธุรกิจ ในปัจจุบัน Data Warehouse ไม่ได้เป็นเพียงที่เก็บข้อมูลเท่านั้น แต่เป็นส่วนสำคัญของ Business Intelligence ที่สนับสนุนกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven) ในอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยการผสานข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น Social Media, E-commerce, Point-Of-Sale (POS) และอื่นๆ Data Warehousing มอบมุมมองอย่างครอบคลุมเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท การโต้ตอบกับลูกค้า และการประสานงานระหว่างทีมในองค์กร


ทำไมเราถึงต้องให้ความสำคัญกับ Data Warehouse?

คลังข้อมูล คือ เครื่องมือทรงพลังที่นักการตลาดยุคใหม่ไม่ควรมองข้าม เพื่อการตัดสินใจและวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างแม่นยำ  จุดเด่นของ Data Warehouse คือ การรวบรวมข้อมูลมหาศาลจากหลากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็น Social Media , Analytics Website , Loyalty Program  และอื่นๆอีกมากมาย มาไว้ในที่เดียว  ซึ่งการรวมศูนย์ข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมของลูกค้าแบบ 360 องศา ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรม การมีส่วนร่วม (Engagement)  และการโต้ตอบ (Interaction)

ลองนึกว่าหากคุณร้านค้าปลีกแห่งหนึ่งใช้ ดาต้าแวร์เฮ้าส์ วิเคราะห์ข้อมูลจากโปรแกรมสะสมแต้ม  ไม่ว่าจะเป็นประวัติการซื้อ สินค้าที่ลูกค้าสนใจ ก็สามารถนำมาวิเคราะห์ค้นหาเทรนด์  และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้ากลุ่มต่างๆ  ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้จะช่วยสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดที่ตรงกลุ่ม  ตรงใจ  สามารถดึงดูดลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ ส่งผลให้ลูกค้ารู้สึกผูกพัน  และมีการซื้อซ้ำมากขึ้น

นอกจากนี้ Data Warehouse คือการประมวลผลข้อมูลแบบ Real-Time  ทำให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้ทันที  ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของตลาด  หรือพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป  ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการแข่งขัน สำหรับธุรกิจในยุคปัจจุบัน ใครปรับตัวได้ไว  ก็คว้าโอกาสทางการตลาดได้มากกว่า


Data Warehouse มีกี่ประเภท?

ประเภทของ Data Warehouse

1. ข้อมูลที่โครงสร้างชัดเจน (Structured Data)

ข้อมูลมีโครงสร้าง (Structured Data) คือ ข้อมูลที่ถูกจัดระเบียบ และมีรูปแบบที่ค้นหาได้ง่าย โดย อาศัยอัลกอริทึม (Algorithm) พื้นฐาน สำหรับนักการตลาด ข้อมูลเหล่านี้คือ ชื่อลูกค้า ที่อยู่  ประวัติการซื้อสินค้า จากโปรแกรมสะสมแต้ม ซึ่งถูกจัดเก็บอย่างเป็นหมวดหมู่

ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่แห่งหนึ่งใช้ข้อมูลมีโครงสร้าง ติดตามการซื้อสินค้าของลูกค้า โดยการวิเคราะห์ข้อมูลการซื้อ ร้านค้าสามารถออกแบบโปรโมชั่น และส่วนลด ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละคนได้ ส่งผลให้โปรแกรมสะสมแต้มมีประสิทธิภาพมากขึ้น และรักษาฐานลูกค้าได้ยั่งยืน

2. ข้อมูลที่โครงสร้างไม่ชัดเจน (Unstructured Data)

ข้อมูลไร้โครงสร้าง (Unstructured Data) คือ ข้อมูลที่ไม่ได้ถูกจัดระเบียบตายตัว  มีรูปแบบหลากหลาย  เช่น อีเมล์  โพสต์โซเชียลมีเดีย  วิดีโอ  และเว็บเพจ  แม้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะดูไม่เป็นระเบียบ  แต่กลับเต็มไปด้วย Insights  อันมีค่า  สะท้อนความรู้สึก  ความชอบ  และพฤติกรรมของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง

ตัวอย่างการใช้งาน เช่น แบรนด์เครื่องสำอางค์แห่งหนึ่งวิเคราะห์ข้อมูลไร้โครงสร้างจากโซเชียลมีเดีย  เพื่อติดตามกระแสตอบรับของลูกค้า  หลังจากเปิดตัวสินค้าใหม่  โดยใช้เครื่องมือวิเคราะห์ Sentiment Analysis  ที่เชื่อมต่อกับ Data Warehouse คือ การที่แบรนด์สามารถปรับกลยุทธ์การตลาดได้อย่างรวดเร็ว  ตามเสียงตอบรับจากลูกค้าแบบ Real-Time

3. ข้อมูลกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Data)

ข้อมูลกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-structured Data)  เปรียบเหมือนสะพานเชื่อมระหว่างข้อมูลมีโครงสร้าง  และข้อมูลไร้โครงสร้าง  โดยข้อมูลประเภทนี้ มักจะอยู่ในรูปแบบของไฟล์ XML, JSON,  และ CSV  ซึ่งจะมีการใช้  Tag  เพื่อแยกระหว่างข้อมูลแต่ละส่วน  และแสดงลำดับชั้นเชิงของข้อมูล

ตัวอย่างการใช้งานเช่น ร้านค้าออนไลน์แห่งหนึ่ง  ใช้ประโยชน์จากข้อมูลกึ่งมีโครงสร้าง จากเว็บล็อก  และข้อมูล Clickstream  เพื่อวิเคราะห์การใช้งานเว็บไซต์ของลูกค้า  ไม่ว่าจะเป็น เส้นทางการคลิก  หรือหน้าที่เข้าชม  โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ภายใน Data Warehouse คือการที่ร้านค้าสามารถปรับแต่งหน้าเว็บไซต์  และ User Interface  ให้ตรงกับพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า  ส่งผลให้เกิดการสั่งซื้อ (Conversion)  มากขึ้น


ข้อแตกต่างระหว่าง Data Warehouse กับระบบจัดเก็บข้อมูลอื่น ๆ

ข้อแตกต่างระหว่าง Data Warehouse และ Database

Data Base ถูกสร้างมาเพื่อจัดการกับธุรกรรมประจำวันและการดำเนินงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยออกแบบมาเพื่อให้การค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเพื่อช่วยในงานประจำวัน เช่น การใส่ข้อมูล การอัปเดต หรือการเรียกดูข้อมูลทันที ตัวอย่างเช่น ธนาคารใช้ฐานข้อมูลธุรกิจประเภทนี้ในการจัดการบัญชีและธุรกรรมของลูกค้าแบบเรียลไทม์ ทำให้ยอดเงินในบัญชีลูกค้าอัปเดตอยู่เสมอและสามารถเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมได้ทันที

ข้อแตกต่างระหว่าง Data Warehouse กับ Database Warehouse

Data Warehouse Data Mart ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากที่สะสมมาเป็นเวลานาน และเหมาะสำหรับการทำงานที่ต้องอ่านข้อมูลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งช่วยในการสร้างรายงานอย่างละเอียดและการค้นหาข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

แม้ว่าทั้ง  Database Warehouse  ต่างก็เป็นเครื่องมือจัดเก็บข้อมูล  แต่มีจุดประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้

ฐานข้อมูลธุรกิจ (Database)

•  เปรียบเหมือนคลังสินค้าขนาดย่อม เน้นความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูล

•  เหมาะสำหรับการจัดการข้อมูลธุรกรรมประจำวัน เช่น เพิ่ม แก้ไข หรือดึงข้อมูลแบบ Real-Time

•  ตัวอย่างเช่น ธนาคารใช้ Database ในการจัดการข้อมูลบัญชี และธุรกรรมทางการเงินของลูกค้า ทำให้สามารถตรวจสอบยอดเงิน และเรียกดูประวัติการทำธุรกรรมได้อย่างสะดวก

ระบบคลังข้อมูล (Data Warehouse)

•  เปรียบเหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ ที่รวบรวมข้อมูลจำนวนมหาศาลไว้ภายใน

•  เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อค้นหาแนวโน้ม หรือ หาคำตอบจากข้อมูลย้อนหลัง

•  ตัวอย่างเช่น ธนาคารเดียวกันนี้อาจใช้ Data Warehouse เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลธุรกรรมย้อนหลัง เพื่อหาแนวโน้ม เช่น เดือนไหนที่มีการใช้จ่ายเงินสดจำนวนมาก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถนำไปใช้ปรับแผนการตลาด สำหรับผลิตภัณฑ์สินเชื่อได้ต่อไป

ข้อแตกต่างระหว่าง Data Warehouse และ Data Lake

เราได้ทำความรู้จักกับ ฐานข้อมูล (Database)  และ ระบบคลังข้อมูล (Data Warehouse)  ไปแล้ว  คราวนี้มาดู  Data Lake  อีกหนึ่งเครื่องมือจัดเก็บข้อมูล  ที่มีจุดเด่นแตกต่างกัน

Data Lake

•  เปรียบเหมือนทะเลสาบขนาดใหญ่ ที่เก็บข้อมูลดิบ หลากหลายรูปแบบ ไว้ในที่เดียว

•  ไม่ได้จัดระเบียบข้อมูล แต่เน้นที่การเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาล จากแหล่งต่างๆ รอวิเคราะห์ในอนาคต

•  ตัวอย่างเช่น บริษัทโทรคมนาคม ใช้ Data Lake เพื่อเก็บข้อมูลดิบ จากระบบเครือข่าย โซเชียลมีเดีย และ Log ต่างๆ ไว้สำหรับวิเคราะห์การใช้งานของลูกค้า เพื่อนำไปปรับปรุงบริการ และสร้างสรรค์แคมเปญทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุป

•  Data Lake เหมาะสำหรับเก็บข้อมูลดิบจำนวนมาก รอวิเคราะห์ในอนาคต

•  Data Warehouse เหมาะสำหรับเก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล เพื่อวิเคราะห์ และสรุปผลทางธุรกิจ


Data Warehouse องค์ประกอบของการเริ่มต้นที่ดี

การสร้างคลังข้อมูล คือ อาจฟังดูเป็นเรื่องใหญ่  แต่ก็เหมือนกับการติดตั้งระบบใหม่ที่ซับซ้อน  หัวใจสำคัญอยู่ที่การเตรียมความพร้อม  และการดำเนินการตามขั้นตอน

เริ่มต้นอย่างไร? มาดูกัน

1. เลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสม:  ขั้นแรก เลือกแพลตฟอร์มระบบคลังข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจ  ตัวอย่างเช่น  Amazon Redshift, Google BigQuery  และ Microsoft Azure SQL Data Warehouse แต่ละแพลตฟอร์มมีจุดเด่นต่างกัน  เช่น  ความสามารถในการปรับขนาด  ความรวดเร็ว  และฟังก์ชั่นการเชื่อมต่อข้อมูล  ตัวอย่างเช่น  ธุรกิจอีคอมเมิร์ซขนาดเล็ก  อาจเลือกใช้ Google BigQuery  เนื่องจากรองรับปริมาณการค้นหาที่ไม่แน่นอน  โดยไม่ต้องบริหารจัดการทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง

2. การเชื่อมข้อมูล:  เชื่อมต่อข้อมูลจากแหล่งต่างๆ  ซึ่งรวมถึงกระบวนการดึงข้อมูล  แปลงข้อมูล  และโหลดข้อมูล (etl Data Warehouse) ข้อมูลสามารถมาจากระบบภายในองค์กร  เช่น  ซอฟต์แวร์ CRM, ERP, แพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัล  ไปจนถึงข้อมูลภายนอกองค์กร  ขั้นตอนสำคัญคือ  การทำความสะอาดและปรับแต่งข้อมูลให้มีความสม่ำเสมอ  เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลเชื่อถือได้

3. กำหนดการบริหารจัดการข้อมูล (Data Governance):  การมีระบบ Data Governance ที่แข็งแรง  เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาความถูกต้อง  และความปลอดภัยของข้อมูล  รวมถึงการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล  มาตรฐานความถูกต้องของข้อมูล  และระบบติดตามการใช้งาน  เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความปลอดภัย  และถูกนำไปใช้ภายในองค์กรอย่างเหมาะสม

4. การอบรมและการใช้งาน:  สร้างทีมงานให้มีความสามารถในการใช้ประโยชน์จาก Data Warehouse  โดยจัดการอบรม  สร้างคู่มือการใช้งาน รวมถึงมีทีมสนับสนุน  เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถดึงศักยภาพของระบบคลังข้อมูลออกมาได้อย่างเต็มที่

 

shape
shape
shape

กำลังมองหา Loyalty Program เพื่อเสริมประสิทธิภาพควบคู่กับ Data Warehouse หรือไม่?

Rocket Loyalty Cloud ระบบสมาชิกที่พร้อมตอบโจทย์นักการตลาดแบบไม่จำกัดกรอบความคิด พร้อมให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี การตลาด! คลิกเลยตรงที่นี่
(ติดต่อฟรี)


Data Warehouse มีประโยชน์ต่อแบรนด์อย่างไร?

1. เจ้าของธุรกิจมีแหล่งข้อมูลเป็นของตัวเอง

ในยุคดิจิทัล  ข้อมูลของลูกค้า (First-Party Data)  ถือเป็นขุมทรัพย์ที่มีค่า  เพราะเป็นข้อมูลที่ได้โดยตรงจากลูกค้า  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการซื้อขาย  การเข้าชมเว็บไซต์  หรือการติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า  คลังข้อมูลคือศูนย์กลาง  ที่รวบรวมข้อมูลของลูกค้าเหล่านี้ไว้ด้วยกัน  ช่วยให้นักการตลาดมองเห็นภาพรวม  และเข้าใจความต้องการ  พฤติกรรมของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง

ตัวอย่างเช่น ร้านค้าเสื้อผ้าแฟชั่น ใช้ระบบคลังข้อมูลวิเคราะห์ประวัติการซื้อสินค้า และพฤติกรรมการ Browse บนเว็บไซต์ และการซื้อจาก Loyalty Program นำไปสร้างแคมเปญการตลาดแบบ Personalization ที่ตรงใจลูกค้าแต่ละคน ส่งผลต่อการรักษาฐานลูกค้า และเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น

ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่ได้จาก ดาต้าแวร์เฮ้าส์ นักการตลาดสามารถ:

•  สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า

•  ยิงโฆษณา และโปรโมชั่น ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่แม่นยำ

•  สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า

•  สร้างความสัมพันธ์อันยาวนานกับลูกค้า หรือสร้าง Customer Loyalty

การมี Data Warehouse (DWH)เปรียบเหมือนการมีอีกอาวุธลับทางการตลาด  ช่วยให้คุณเหนือกว่าคู่แข่ง  สามารถตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้อย่างแม่นยำ  และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

2. สามารถนำข้อมูลมาพัฒนาธุรกิจ และปรับปรุง Business Intelligence ได้

ระบบคลังข้อมูล (Data Warehouse) ไม่เพียงรวบรวมข้อมูลของลูกค้าเท่านั้น  แต่ยังช่วย ปลดล็อคคุณค่า ของข้อมูลเหล่านั้น  ด้วยเครื่องมือ Business Intelligence (BI) ที่ทรงพลัง

เครื่องมือ Data Warehouse BI เปรียบเหมือนกุญแจไขคลังข้อมูล  ช่วยให้มองเห็นข้อมูลเชิงลึก  สามารถสร้างรายงานที่ละเอียด  วิเคราะห์ข้อมูลอย่างซับซ้อน  และแสดงแนวโน้มข้อมูลผ่านกราฟิก  ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนสนับสนุนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ทางการตลาด

ตัวอย่างเช่น บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้า  ใช้เครื่องมือ Data Warehouse BI ที่เชื่อมต่อกับคลังข้อมูล   ติดตามประสิทธิภาพของสินค้า  ในแต่ละภูมิภาค  และกลุ่มลูกค้า  โดยสามารถปรับกลยุทธ์การตลาดแบบเรียลไทม์  เพื่อเพิ่มยอดขายให้ดียิ่งขึ้น

ฟังค์ชั่นเด่นของเครื่องมือ Business Intelligence:

•  สร้าง Dashboard สรุปข้อมูลสำคัญ และ ตัวชี้วัดทางการตลาด (KPI) ไว้ในหน้าเดียว เพื่อติดตามผลลัพธ์ของแคมเปญทางการตลาดได้อย่างง่ายดาย

•  วิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง ค้นหาความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ภายในข้อมูล เพื่อให้เข้าใจลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

•  สร้างสรรค์ Visualizations นำเสนอข้อมูลผ่านกราฟ และ แผนภูมิ ที่เข้าใจง่าย สามารถสื่อสารข้อมูลที่ซับซ้อน ไปยังผู้บริหาร หรือทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้เครื่องมือ Data Warehouse bi เปรียบเหมือนการจุดพลุให้ข้อมูลของลูกค้า กลายเป็นอาวุธลับทางการตลาด  ช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด  วางกลยุทธ์ได้แม่นยำ  และขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ

3. ช่วยทำให้องค์กรสามารถตัดสินใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

คุณเคยรู้สึกไหมว่าข้อมูลทางการตลาดกระจัดกระจาย  ทำให้การวิเคราะห์  และการตัดสินใจล่าช้าคลังข้อมูล คือช่วยรวบรวมข้อมูลลูกค้า  ข้อมูลการตลาด  และข้อมูลธุรกิจ  ไว้ในที่เดียวพร้อมเครื่องมือวิเคราะห์อันทรงพลัง  ช่วยให้นักการตลาดสามารถ:

•  ตัดสินใจอย่างรวดเร็ว  ด้วยข้อมูลที่พร้อมใช้งาน  และ  เชื่อถือได้  ไม่ต้องเสียเวลารวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งอีกต่อไป

•  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก  จากหลายมิติ  ไม่ว่าจะเป็น  แนวโน้มตลาด  พฤติกรรมลูกค้าตามแต่ละช่วง  (Customer Lifecycle Stages)  หรือผลลัพธ์ของแคมเปญทางการตลาด

•  วางกลยุทธ์การตลาดได้อย่างแม่นยำ  ข้อมูลเชิงลึกจากคลังข้อมูล  ช่วยให้คุณรู้จักลูกค้า  เข้าใจความต้องการ  และวางแผนการตลาดที่ตรงจุด  ยิงตรงไปยังกลุ่มเป้าหมาย

การมีคลังข้อมูล คือ เปรียบเหมือนการมีเรดาร์ติดตามข้อมูลทางการตลาด ช่วยให้คุณมองเห็นโอกาส  และวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างชาญฉลาด  ขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน

4. ช่วยแบ่งกลุ่มลูกค้าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ระบบคลังข้อมูล (Data Warehouse)  ไม่เพียงช่วยรวบรวมข้อมูล  แต่ยังช่วยให้คุณ รู้จักลูกค้า  ได้อย่างลึกซึ้ง  ด้วยการ แบ่งกลุ่มลูกค้า (Segmentation)  อย่างชาญฉลาด

การรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากหลายแหล่ง  ไม่ว่าจะเป็น  ข้อมูลพื้นฐาน  พฤติกรรมการซื้อ  หรือ  ระดับการมีส่วนร่วม (Engagement)  ไว้ด้วยกัน   จากนั้นนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์  เพื่อแบ่งกลุ่มลูกค้า  อย่างละเอียด  โดยอาศัยปัจจัยต่างๆ  เช่น

•  ข้อมูลประชากร (Demographics)

•  พฤติกรรมการซื้อ (Buying Behavior)

•  ระดับการมีส่วนร่วม (Engagement Level)

ตัวอย่าง: บริษัททัวร์  ใช้ดาต้าแวร์เฮ้าส์ แบ่งกลุ่มลูกค้าตามประวัติการเดินทาง  สถานที่ท่องเที่ยวที่ชื่นชอบ  และพฤติกรรมการใช้จ่าย การแบ่งกลุ่มอย่างละเอียด  ช่วยในการออกแบบแพ็คเกจทัวร์  และโปรโมชั่น  ที่ตรงกับความต้องการ  และสไตล์การท่องเที่ยวของลูกค้าแต่ละกลุ่ม ส่งผลให้โอกาสปิดการขาย (Conversion Rate) เพิ่มสูงขึ้น

ประโยชน์ของการแบ่งกลุ่มลูกค้า

•  สร้างสรรค์แคมเปญทางการตลาด ที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ยิงโฆษณา และ โปรโมชั่น ไปยังลูกค้าที่สนใจจริงๆ ไม่เสียเงินไปเปล่าๆ

•  ยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience) นำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ และ คอนเทนต์ ที่ตรงใจลูกค้าแต่ละกลุ่ม

•  เพิ่มอัตราการสั่งซื้อ (Conversion Rate) ลูกค้าที่ได้รับข้อเสนอ ที่ตรงกับความต้องการ มีแนวโน้มตัดสินใจซื้อสินค้า หรือบริการได้ง่ายขึ้น

•  สร้างความสัมพันธ์อันยาวนานกับลูกค้า การใส่ใจ และเข้าใจลูกค้าในระดับบุคคล ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกผูกพันกับแบรนด์มากขึ้น

ระบบคลังข้อมูล (Data Warehouse)  เปรียบเหมือนตาข่าย ที่ช่วยให้คุณมองเห็นลูกค้าแต่ละคนได้อย่างชัดเจน  นำไปสู่กลยุทธ์การตลาดที่ตรงจุด  และสร้างยอดขายที่ยั่งยืน

5. นำไปผสานกับ Loyalty Program เพิ่มยกระดับผลลัพธ์ทางการตลาด

ระบบคลังข้อมูล (Data Warehouse) เสริมพลัง Loyalty Program สร้างการตลาดสุดปัง ยกระดับ Customer Loyalty การเชื่อมต่อระบบคลังข้อมูล (Data Warehouse)  กับโปรแกรมลูกค้าสัมพันธ์ (Loyalty Platform)  ถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุด ในการกระตุ้นให้ลูกค้ากลับมาแบรนด์คุณในระยะยาวและช่วยให้นักการตลาด  สร้างสรรค์แคมเปญทางการตลาด  ที่ตรงจุด  และ  มีประสิทธิภาพ  ยิ่งขึ้น

จุดแข็ง  ของการเชื่อมต่อข้อมูลเหล่านี้  คือ  การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก  เกี่ยวกับความภักดีของลูกค้า  ไม่ว่าจะเป็น  ประวัติการซื้อ  สินค้าหรือบริการ รวมถึง โปรโมชั่นที่ลูกค้าสนใจ  ข้อมูลเหล่านี้  สามารถนำไปวิเคราะห์  เพื่อเพิ่มคุณค่าและสร้างความภักดีให้กับลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น แบรนด์กาแฟชื่อดัง ทำการเชื่อมต่อข้อมูล Loyalty Program เข้ากับ Data Warehousing โดยติดตามข้อมูล เช่น จำนวนครั้งที่มาซื้อ รสชาติที่ชื่นชอบ และ การตอบสนองต่อโปรโมชั่นต่างๆ การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ ช่วยให้แบรนด์กาแฟ ระบุกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพ (High-Value Customer) และ นำเสนอโปรโมชั่นพิเศษ รวมถึง รางวัล ที่ตรงกับความชื่นชอบของลูกค้าแต่ละคน ส่งผลให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ และ มีความพึงพอใจต่อแบรนด์มากขึ้น

ประโยชน์ของการเชื่อมต่อคลังข้อมูลกับโปรแกรมลูกค้าสัมพันธ์

•  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อเข้าใจลูกค้า และ สร้างสรรค์แคมเปญทางการตลาด ที่ตรงใจ

•  ยิงโฆษณา และ โปรโมชั่น ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่แม่นยำ ไม่เสียเงินไปกับการตลาดแบบ Mass Marketing อีกต่อไป

•  สร้างประสบการณ์ส่วนตัว (Personalization) แบบเรียลไทม์ มอบข้อเสนอ และ สื่อสารกับลูกค้าแต่ละคนได้อย่างตรงจุด เสริมสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น

•  เพิ่มอัตราการรักษาฐานลูกค้า (Customer Retention Rate) ลูกค้ารู้สึกพิเศษ ได้รับสิทธิประโยชน์ และ โปรโมชั่นที่ตรงใจ ย่อมไม่อยากเปลี่ยนไปใช้บริการเจ้าอื่น

•  เพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนทางการตลาด (Return On Investment : ROI) การยิงโฆษณา และ โปรโมชั่น ที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ช่วยให้เห็นผล คุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไป

การเชื่อมต่อระบบคลังข้อมูลกับ Loyalty Program เปรียบเหมือนการสร้าง สะพานเชื่อมใจ  ระหว่างแบรนด์  กับ  ลูกค้า   ช่วยให้คุณเข้าถึงความต้องการ  และ  สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

shape
shape
shape

กำลังมองหา Loyalty Program สำหรับแบรนด์ยุคใหม่หรือไม่?

Rocket Loyalty Cloud ระบบสมาชิกที่พร้อมตอบโจทย์นักการตลาดแบบไม่จำกัดกรอบความคิด พร้อมให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี การตลาด! สแกน QR code หรือ คลิกเลยตรงนี้ (ติดต่อฟรี)


สรุปง่ายๆ Data Warehouse คืออะไร

การใช้คลังข้อมูล (Data Warehouse)  ไม่เพียงแค่จัดเก็บข้อมูล  แต่เปรียบเสมือนการที่เปลี่ยนข้อมูลดิบ  ให้กลายเป็น ข้อมูลเชิงลึก  อันทรงคุณค่า  ซึ่งช่วยให้นักการตลาดสามารถ:

•  คาดการณ์แนวโน้ม (Forecast Trends): วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อคาดการณ์แนวโน้ม หรือ พฤติกรรมของตลาด วางแผนการตลาดล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ

•  เข้าใจลูกค้า (Understand Customer Behavior): คลังข้อมูลช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวม และ เข้าใจลูกค้าแบบ 360 องศา ไม่ว่าจะเป็น ความต้องการ พฤติกรรม และ การมีส่วนร่วม (Engagement) ในแต่ละช่องทาง

•  ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างแม่นยำ (Optimize Marketing Strategies): ด้วยข้อมูลเชิงลึก นักการตลาดสามารถวางแผน และ ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุด

จุดแข็งที่สำคัญของ Data Warehouse คือ  การเชื่อมการข้อมูลจากแหล่งต่างๆ  รวมถึง Loyalty Program  อย่างเช่น  Rocket CRM   ซึ่งจะช่วยสร้าง “คลังข้อมูลลูกค้า” (Customer Data Platform) ที่ทรงพลัง  มอบมุมมองที่ครอบคลุม เกี่ยวกับลูกค้าของคุณ

ตัวอย่างเช่น  การเชื่อมต่อระบบคลังข้อมูล กับ Rocket CRM  ช่วยให้:

•  สร้างประสบการณ์ส่วนตัว (Personalization) ให้กับลูกค้า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพฤติกรรม เพื่อออกแบบข้อเสนอ และ โปรโมชั่น ที่ตรงใจลูกค้าแต่ละคน

•  ไม่เพียงแค่ติดตามธุรกรรม (Track Transactions): แต่ยังสามารถติดตาม และ วิเคราะห์การมีส่วนร่วมของลูกค้า (Customer Engagement) ในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น หน้าร้าน เว็บไซต์ หรือ โซเชียลมีเดีย

•  เพิ่มความภักดีของลูกค้า (Customer Loyalty) และ ยืดอายุการเป็นลูกค้า (Customer Lifetime Value): การเอาใจใส่ลูกค้า มอบสิทธิประโยชน์ และ โปรโมชั่น ที่ตรงตามความต้องการ สร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างแบรนด์ กับ ลูกค้า

ประโยชน์ของการใช้ Data Warehouse

•  ยกระดับการตัดสินใจทางการตลาด (Enhanced Decision-Making): ข้อมูลเชิงลึก ช่วยให้นักการตลาดตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว และ แม่นยำยิ่งขึ้น

•  แบ่งกลุ่มลูกค้าอย่างชาญฉลาด (Sophisticated Customer Segmentation): เข้าใจลูกค้า และ แบ่งกลุ่มตามความต้องการ เพื่อสร้างสรรค์แคมเปญทางการตลาด ที่ตรงเป้าหมาย

•  สร้างกลยุทธ์ Personalization ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Personalization Strategies): มอบประสบการณ์ และ ข้อเสนอ ที่ตรงใจลูกค้าแต่ละคน

•  วิเคราะห์แนวโน้มการตลาด และ ความต้องการของลูกค้า (Deeper Market & Customer Insights): ติดตามกระแส และ ปรับตัวตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

•  รองรับการเติบโตของธุรกิจ (Scalability & Flexibility): ระบบคลังข้อมูลสามารถปรับขนาด และ รองรับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเติบโตแค่ไหน

ระบบคลังข้อมูล (Data Warehouse) เปรียบเหมือน “เรือธง” (เรือธง = flagship)  ของการตลาดยุคใหม่  ช่วยให้นักการตลาดนำทางธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ   ยิ่งเมื่อผสานการทำงานกับแพลตฟอร์มอันทรงพลังอย่าง  Rocket Loyalty Cloud CRM 4.0  ด้วยแล้ว กลยุทธ์ทางการตลาดของคุณจะยิ่งสมบูรณ์  และ  เหนือกว่าคู่แข่งอย่างแน่นอน


 


shapeshapeshape

ลงทะเบียน รับคำปรึกษาฟรี!

รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Martech และ Business Transformation

Rocket BLOG

MarTech knowledge to help you stay ahead of the curve.

Customer Retention

Customer Retention การรักษาลูกค้าเก่าให้นานที่สุดทำอย่างไร

การทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ เข้ามาช่วยขับเคลื่อนให้สามารถเดินหน้าต่…

#MARKETING
Referral Program

Referral Program คือ ลูกค้าเก่าแนะนำลูกค้าใหม่ให้ซื้อสินค้าและบริการ

การทำธุรกิจให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จำเป็นต้องใช้เทคนิคกระตุ้นยอดขายด้วยรูปแบบต่างๆ เพื่อทำให้ทั้งล…

#MARKETING
Data Warehouse คืออะไร

Data Warehouse คืออะไร? ไม่อยากตก เทรนด์ Data ต้องรู้เอาไว้

ในโลกของการตลาดดิจิทัลที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ข้อมูล หรือ Data กลายเป็นสิ่งสำคัญต่อแบรนด…

#MARKETING

LINE

Call

Free trial

test

Contact

Contact us now

test

✓ Valid number ✕ Invalid number
This field is for validation purposes and should be left unchanged.

Now, you can engage like a digital giant